วันพุธที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2560

มหัศจรรย์ 1,000 วันแรกแห่งชีวิต(THE FIRST 1000 DAY)



วันที่ 2 สิงหาคม 2560 นายแพทย์ยุทธนา พูนพานิช สาธารณสุขนิเทศน์ เขต 9
พร้อมด้วยแพทย์หญิงวีณา มงคลพร รองผู้อำนวยการศูนย์อนามัยที่ 9 นม.
ติดตามเตรียมความพร้อมโครงการมหัศจรรย์ 1,000 วันแรกแห่งชีวิต
อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ โดยมีนายยุทธชัย สายคำมี นายอำเภอคอนสวรรค์
เป็นประธานต้อนรับพร้อมด้วย แพทย์หญิงศรัญญา พันธุ์ทอง ผู้อำนาวยการโรงพยาบาล
คอนสวรรค์และนายเกษมสุข กันชัยภูมิ สาธารณสุขอำเภอคอนสวรรค์




บทสรุปการติดตามงานมหัศจรรย์ 1000วันแรกแห่งชีวิต อ.คอนสวรรค์ 2 สิงหาคม 2560
พบว่ามีความชัดเจนในเรื่อง ความสมดุลของงานทั้ง health และnon- health  
ในทุกกิจกรรม 6 ช่วงตามกลุ่มเป้าหมาย
จุดแข็ง คือ
1. ทีมงาน CFT ระดับจังหวัด ระดับอำเภอ ตำบล มีความเตรียมพร้อมและศึกษางานมาอย่างดี  
มีความเข้าใจแก่นแท้ของงานทั้ง2 part  วางแผนงานชัดเจนในกระบวนการ ครอบคลุมถึง
การจัดทำฐานข้อมูล และการจัดเตรียมเวชภัณฑ์
2. การบริหารงานตามกรอบ FCTที่แบ่งเป็น3 ทีมคือ ทีมหมอไร่นา หมอมดงาน หมอในดวงใจ
 ดังนั้น มีการทำ individual care planครบทุกพื้นที่เป้าหมาย  สามารถมองปัญหาครบทั้ง 3 องค์
ประกอบและนำไปสู่กระบวนการวางแนวทางแก้ไข
3. ข้อนี้ถือว่าเด่นสุด คือการมีส่วนร่วมของเครือข่ายที่เข้มแข็งในรูปแบบ คณะกรรมการ
พัฒนาคุณภาพชีวิตและระบบสุขภาพอำเภอDHB ที่เป็นรูปธรรม รวมถึง มีการจัดตั้งCFT
ถึงระดับชุมชน 
4.  หัวใจสำคัญต่อเนื่องจากข้อ 3 ทำให้ มีประชาคมหมู่บ้านครบทุกพื้นที่ และมีผลของ
การประชาคมที่เป็นประโยชน์ เช่น เรื่องของการระดมทุนในชุมชน  การแจกนมตลอด
การตั้งครรภ์ และกระบวนการแก้ไขปัญหาไอโอดีนในชุมชน
5. กิจกรรมของnon –health ในประเด็นประเพณี วัฒนธรรมพื้นบ้านสอดแทรกในทุกช่วง
ของงาน อาทิ จิตประภัสสรในช่วงตั้งครรภ์ สวดมนต์ทำวัตร ฟื้นฟูวัฒนธรรมท้องถิ่น 
จาดกระด้ง กิจกรรมรับขวัญสมาชิกใหม่ในชุมชน  และ กระบวนการเยี่ยมบ้านโดยCFT ชุมชน
 ได้กำหนดไว้ในแผนงานในแต่ละช่วงชัดเจนและเป็นกิจกรรมหลักที่ต้องดำเนินการ
6. กิจกรรมHealthที่แบ่งเป็น 6 ช่วง ทุกพื้นที่เข้าใจconceptual frameworkของงาน 
ว่าอะไร คือปัญหาที่แท้จริงของพื้นที่ นำมาสู่การแก้ไขปัญหาตามบริบทของพื้นที่ 
โดยมีการเชื่อมโยงข้อมูลระดับประเทศและระดับพื้นที่ เช่น ปัญหาโภชนาการในมารดา 
ปัญหาการขาดสารไอโอดีนในชุมชน  ปัญหาและอุปสรรคของนมแม่ ปัญหาและอุปสรรค
ของงานพัฒนาการ ในประเด็นของเล่นส่งเสริมพัฒนาการ ดังนั้น จึงเกิดการส่งมอบ
กิจกรรมทางhealthที่ตอบโจทย์ตรงเป้า  หรือนวัตกรรมหลายชิ้นที่ผลิตจาก
ภูมิปัญญาท้องถิ่น ชุดของขวัญเด็ก อุปกรณ์ปั๊มนมเพื่อช่วยเหลือมารดาให้นมบุตร
การบริหารจัดการยา มีการจ่ายยาครอบคลุม ในกลุ่มเตรียมความพร้อมก่อนการตั้งครรภ์ 
รวมถึง การจ่ายยาน้ำธาตุเหล็ก ที่มีความครอบคลุมเด็ก 6 เดือน – 2 ปี และ  
ยังมีจ่ายยาในเด็กกลุ่มเสี่ยงน้ำหนักน้อยกว่า 2500 กรัมที่อายุ 2 เดือนมีจำนวนชัดเจน
7. มีการสื่อสารประชาสัมพันธ์โครงการสม่ำเสมอ หลายช่องทาง การผลิตสื่อในการทำงาน
ประเด็นเพิ่มเติม คือ รูปแบบการนำเสนอในไสลด์ของการpresent วันนี้ เห็นกิจกรรมชัดเจน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรพสต.บ้านโศก และโคกมั่งงอยทางทีมนิเทศ คิดว่า เป็น roll model 
ในกระบวนการและวิเคราะห์งานที่ชัดเจน มาก
โอกาสพัฒนาคิดว่า 
ควรต่อยอดโครงการตามรูปแบบ ที่ประชาคมและควรมีการกำกับติดตามโครงการในรูปแบบ
ของการเยี่ยมบ้าน ที่วางไว้





































ไม่มีความคิดเห็น: